วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

หตุการณ์ หลุมดำ กลืนกิน ดาว ที่ตรวจพบครั้งแรกของโลก (black hole swallowed a star)


ภาพที่เห็นนี้นับเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ของ วงการดาราศาสตร์ เมื่อมีการตรวจพบเหตุการณ์ ขณะที่ หลุมดำขนาดมหึมากำลังฉีกกินดวงดาว
ภาพที่เห็นจั่วหัวคือภาพเหตุการณ์ขณะที่หลุมดำกำลังกลืนกินดาว ที่วาดขึ้นโดยจิตรกร ซึ่งเหตุการณ์สุดยากยิ่งที่จะเกิดซักครั้งหนึ่ง เมื่อหลุมดำซึ่งเป็น 1 ในพลังอันยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล ได้บดขยี้ดวงดาวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วดูดกลืนหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางของ หลุมดำ (แสงสีขาวที่มีลักษณะเป็นรูปวงเล็บปิดด้านขวามือ )
ส่วนสิ่งที่เห็นเป็น ธารสีขาว(เส้นตรง) นั้นคือ กระแสพลาสม่า(plasma) ที่ไหลทะลักออกจากกึ่งกลางของหลุมดำ ที่อยู่ห่างไกลจากโลกถึง 4 พันล้านปีแสง กระแสพลาสม่านี้เรียกว่า relativistic jets ที่อาจจะยาวได้ถึง 100 หรือ 1,000 ล้านปีแสงเลยก็ได้
โดยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2011 กล้อง Swift Telescope ได้ตรวจจับการระเบิดอย่างฉับพลันของรังสี จากกลุ่มดาว constellation Draco ลำแสงนี้เสมือนข้อความที่ส่งไปยังเหล่านักดาราศาสตร์ทั้งโลก ให้หันไปจับจ้องว่าขณะกำลังเกิดเหตุกาณ์อะไรขึ้น ใน จักรวาล ณ จุดนั้น
โดยปกติ การระเบิดของรังสีขนาดใหญ่ในจักรวาล จะเกิดขึ้นครั้งเดียว อันเป็นผลมาจากดวงดาวเกิดการระเบิดเป็นซุปเปอร์โนว่า(supernova)
แต่สำหรับเหตุกาณ์นี้ เกิดมีการระเบิดของรังสี ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในวันถัดไป ณ ตำแหน่งเดิมซึ่งมันเป็นเหตุกาณ์ที่ผิดปกติอย่างยิ่ง
เมื่อทำการติดตามไปยังแหล่งของการระเบิดก็พบว่า ณ ตำแหน่งนั้นเป็นที่ตั้งของ หลุมดำ
นาย Ashley Zauderer ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ ของ Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics จึงได้หลักฐานที่มีน้ำหนักในการสร้าง ทฤษฎี ว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดจาก การที่ดวงดาวที่มีขนาดเท่าดวงอาทิตย์ของเราโคจรเข้าไปไกลหลุมดำขนาดใหญ่ ที่มีแรงดึงดูดมหาศาล เป็นเหตุให้ส่วนที่อยู่ใกล้หลุมดำถูกดึงยึดเข้าสู่หลุมดำ เมื่อถึงมาถึงวาระสุดท้าย แรงดึงดูดจากฉีกดาวออกเป็นชิ้นๆ(ดาวแตกดับเกิดเป็นการระเบิดซุปเปอร์โนว่า การระเบิดครั้งที่ 1) ก่อตัวเป็นก้อนพลาสม่าไหลเข้าสู่หลุมดำ แต่ในขบวนการนี้ พลาสม่าบางส่วนจะถูกพ่นออกมาเป็น relativistic jets และ relativistic jets ที่ถูกพ่นออกมานี้เอง ที่กล้องตรวจจับได้เป็นการระเบิดครั้งที่ 2
เมื่อ หลุมดำกลืนกินดาวงดาวเข้าไป มันจะยิ่งทรงพลัง เนื่องจากดวงดาวได้เข้าไปเพื่มมวลของหลุมดำให้ยิ่งมากขึ้น(ยิ่งวัตถุยิ่งมีมวลมากเท่าไรจะยิ่งมีแรงดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย)
เหตุการณ์หลุมดำกลืนกิน ดวงดาว นั้นเกิดยากยิ่งคือมีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครั้งในช่วงเวลา แสนล้านปี/ครั้งแกแล็คซี่





ข้อมูลอ้างอิง

http://www.latimes.com/news/science/la-sci-black-hole-20110825,0,7532003.story
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2029731/relativistic-jets-Moment-super-massive-blackhole-shreds-star-caught-camera.html

นักวิทยาศาสตร์ เผย โลกเคยมีดวงจันทร์ 2 ดวง



ภาพจำลองขณะดวงจันทร์ดวงเล็กปะทะชนดวงจันทร์ดวงใหญ่


ภาพแสดงการค่อย ๆ ปะทะและหลอมรวมกันของดวงจันทร์

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์เผยในอดีตโลกเคยมีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง ก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ "Big Splat" ถูกดวงจันทร์ดวงปัจจุบันดูดเข้าไปรวมเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวกัน

โดยทฤษฎีนี้ ถูกศึกษาและเปิดเผยโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเมืองซานตาครูส ระบุว่า เมื่อราว ๆ 4.4 พันล้านปีก่อน โลกของเราเคยมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 2 ดวง คือ ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่เราเห็นในปัจจุบัน และดวงจันทร์ดวงเล็กอีกหนึ่งดวงที่โคจรรอบโลกในระยะห่างที่ไม่ไกลกันมากนัก แต่แล้วหลังจากผ่านไปอีกหลายล้านปี ดวงจันทร์ดวงเล็กที่มีขนาดเล็กกว่าก็ไม่อาจต้านทานแรงดึงดูดของดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 เท่า และน้ำหนักมากกว่า 25 เท่าได้ ดวงจันทร์ดวงเล็กจึงค่อย ๆ ถูกดูดเข้าหาดวงจันทร์ดวงใหญ่ใกล้ขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดดวงจันทร์ทั้งสองดวงก็ชนปะทะกันและค่อย ๆ หลอมรวมกลายเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวกันในที่สุด แต่มีลักษณะบิดเบี้ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายล้านปี การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ก็ค่อย ๆ ทำให้รูปทรงของดวงจันทร์กลายเป็นทรงกลมขึ้นมาอีกครั้ง ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยการดึงดูดและหลอมรวมกลายเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ เรียกว่า ทฤษฎี "Big Splat"

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า โดยปกติแล้วคนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเท่านั้น เนื่องจากดวงจันทร์มีคาบการหมุนรอบตัวเองและคาบการหมุนรอบโลกที่เท่ากัน ทำให้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก คือ ด้านใกล้เท่านั้น ส่วนด้านไกลนั้น คนบนโลกไม่สามารถมองเห็นได้เลย แต่หลังจากที่มีการส่งยานออกไปสำรวจภูมิประเทศของดวงจันทร์ ทำให้พบว่าด้านใกล้และด้านไกลของดวงจันทร์มีภูมิประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยด้านไกลของดวงจันทร์ที่เรามองไม่เห็นนั้น จะมีลักษณะเป็นที่ราบสูง และมีเปลือกหุ้มที่หนาแน่นมาก ซึ่งบริเวณนี้ก็คือบริเวณที่ดวงจันทร์ดวงเล็กถูกดูดเข้ามานั่นเอง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก redicecreations.com, redicecreations.com


การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต


การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
(การปลูกถ่ายไขกระดูก)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไขกระดูก

ไขกระดูกเป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของกระดูก มีลักษณะเป็นของเหลว และเป็นแหล่งกำเนิดของเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ในไขกระดูกจะมีเซลล์เม็ดเลือดจำนวนมากหลายชนิด เซลล์ต้นกำเนิด(stem cell) เป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด นอกจากนี้ เซลล์ต้นกำเนิดยังพบได้ในเลือดจากสายสะดือและในเลือดที่หมุนเวียนอยู่ในร่างกาย

การปลูกถ่ายไขกระดูกแบ่งเป็น 2 แบบ
1. การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของตนเอง (Autologous Bone Marrow Transplantation)ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรง หรือดื้อต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ หลักการของการรักษาคือ การให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงแก่ผู้ป่วย แล้วตามด้วยการให้เซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งอาจนำมาจากไขกระดูกของผู้ป่วยเอง หรือในปัจจุบันเรามักจะเลือกใช้การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับยากระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดออกมาในกระแสโลหิตประมาณ 4 – 5 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ เพื่อนำเลือดของผู้ป่วยผ่านเข้าเครื่อง และแยกเอาเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิด และเม็ดเลือดขาวออกมา เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดก็จะคืนให้แก่ผู้ป่วย การนำเซลล์ต้นกำเนิดกลับให้ผู้ป่วยจะทำให้เม็ดเลือดของผู้ป่วยกลับคืนสู่ ปกติโดยเร็ว การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง เช่น การติดเชื้อ และการมีแผลในปาก
2. การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไข กระดูกของผู้อื่น (Allogeneic Bone Marrow Transplantation) เนื่องจากไขกระดูก หรือเซลล์ต้นกำเนิดของผู้อื่นถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจะต้องกำจัด ดังนั้นก่อนที่จะให้ไขกระดูกของผู้อื่น จึงต้องมีการเตรียมผู้ป่วยโดยการให้ยาเคมียำยัด การฉายแสงหรือ สองอย่างรวมกัน (preparative regimen) วิธีการนี้จะทำลายเซลล์ในไขกระดูกของผู้ป่วยและกดภาวะภูมิคุ้มกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกของผู้อื่น นอกจากนี้วิธีการนี้ยังทำลายเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ก่อนทำการปลูกถ่ายไข กระดูก ในผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับไขกระดูกจากผู้รับบริจาคโดยทั่วไปสิ่งที่จะบอกว่าผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค และเซลล์ต้นกำเนิดของผู้บริจาคเริ่มทำงานได้เต็มที่ คือการที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล(neutrophil) เพิ่มขึ้นเกิน 500 ไมโครลิตร เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เราเรียกว่าผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค (engraftment) หลังจากนั้นเซลล์ต้นกำเนิดจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดที่สมบูรณ์แข็งแรง ต่อไป ผู้ป่วยอาจต้องได้รับเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดเสริมต่อไปอีกระยะจนกระทั่งเซลล์ต้นกำเนิดของผู้บริจาคทำงาน ได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะค่อยๆกลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งอาจใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี หลังจากการปลูกถ่ายไขกระดูก

Credit : http://www.facebook.com/note.php?note_id=130482980305635